วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2553

พระคาถาพาหุง

พระคาถาพาหุง

หมายเหตุ: หากสวดให้ตนเอง (ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้นจงมีแก่ "ข้าพเจ้า") ให้เปลี่ยนจาก เต เป็น เม

บทที่ ๑

พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง

ครีเมขะลังอุทิตะโฆระสะเสนะมารัง

ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ


คำแปล

พญามารเนรมิตแขนตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ

ขี่ช้าง ครีเมขละ พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องก้องกึก

พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ด้วยธรรมวิธี มีทานบารมี เป็นต้น

ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

บทที่ ๒

มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง

โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง

ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ


คำแปล

อาฬวกยักษ์ผู้กระด้าง ปราศจากความอดทน ดุร้าย

สู้รบกับพระพุทธเจ้าอย่างทรหดยิ่งกว่ามารตลอดราตรี

พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ด้วยขันติวิธีที่ทรงฝึกฝนมาดี

ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน


บทที่ ๓

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง

ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง

เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ


คำแปล

พญาช้างชื่อ นาฬาคิรี ตกมัน

ดุร้ายยิ่งนัก ประดุจไฟป่า จักราวุธ และสายฟ้า

พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ด้วยวิธีรดด้วยน้ำคือเมตตา

ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

บทที่ ๔

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง

ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง

อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ


คำแปล

โจรองคุลิมาล ถือดาบเงื้อง่าวิ่งไล่ฆ่า

พระพุทธองค์สิ้นระยะทาง ๓ โยชน์

พระจอมมุนีทรงบันดาลอิทธิฤทธิ์ทางใจเอาชนะได้ราบคาบ

ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน


บทที่ ๕

กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา

จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ

สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ


คำแปล

นางจิญจมาณวิกา เอาไม้กลมๆ มาผูกท้อง ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์

ใส่ร้ายพระพุทธเจ้าท่ามกลางฝูงชน

พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ด้วยวิธีสงบระงับพระหฤทัยอันงดงาม

ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

บทที่ ๖

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง

วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง

ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ


คำแปล

สัจจกนิครนถ์ผู้ถือตัวว่าฉลาด เป็นนักโต้วาทะชั้นยอด สละเสียซึ่งสัจจะ

ตั้งใจมาได้วาทะหักล้างพระพุทธองค์ เป็นคนมืดบอดยิ่งนัก

พระจอมมุนีผู้สว่างจ้าด้วยแสงปัญญาทรงเอาชนะได้

ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน


บทที่ ๗

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง

ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต

อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ


คำแปล

พญานาคชื่อนันโทปนันทะ ผู้มีความรู้ผิด มีฤทธิ์มาก

พระจอมมุนีทรงมีพุทธบัญชาให้พระโมคคัลลานะพุทธโอรส

ไปปราบด้วยวิธีแสดงฤทธิ์ที่เหนือกว่า

ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

บทที่ ๘

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง

พรหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง

ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ


คำแปล

พรหมชื่อพกะ ถือตัวว่ามีความบริสุทธิ์ รุ่งเรืองและมีฤทธิ์

ยึดมั่นในความเห็นผิด ดุจมีมือถูกอสรพิษขบเอา

พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ด้วยญาณ

ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน


บท ส่งท้าย

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา

โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที

หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ

โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ


คำแปล

คนมีปัญญาสวดพุทธชัยมงคล

คาถาทั้ง ๘ นี้เป็นประจำ โดยไม่เกียจคร้าน

พึงขจัดอุปัทวันตรายทั้งหลายได้

บรรลุถึงซึ่งพระนิพพานอันเป็นสุข

บท มหาการุณิโก (ชะยะปะริตตัง)

มหาการุณิโก นาโถ

หิตายะ สัพพะปาณินัง

ปูเรตวา ปาระมี สัพพา

ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ

โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
ชะยันโต โพธิยา มูเล

สัก์ยานัง นันทิวัฑฒะโน

เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ

ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล

อะปะราชิตะปัลลังเก

สีเส ปะฐะวิโปกขะเร

อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง

อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ ฯ

ขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในชัยมงคลพิธี ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปีติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ทรงถึงความเป็นเลิศยอดเยี่ยม ทรงปีติปราโมทย์อยู่เหนืออชิตบัลลังก์อันไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ฉะนั้นเถิด
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง

สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง

สุขะโณ สุมุหุตโต จะ

สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ

ปะทักขิณัง กายะกัมมัง

วาจากัมมัง ปะทักขิณัง

ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง

ปะณิธี เต ปะทักขิณา

ปะทักขิณานิ กัตวานะ

ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ

เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดี แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชคดี เทอญ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง

รักขันตุ สัพพะเทวะตา

สัพพะพุทธานุภาเวนะ

สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง

รักขันตุ สัพพะเทวะตา

สัพพะธัมมานุภาเวนะ

สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง

รักขันตุ สัพพะเทวะตา

สัพพะสังฆานุภาเวนะ

สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ
  • บทสวดทำนองสรภัญญะ
ปางเมื่อพระองค์ปะระมะพุท

ธะวิสุทธะศาสดา

ตรัสรู้อนุตตะระสะมา

ธิ ณ โพธิบัลลังก์


ขุนมารสหัสสะพหุพา

หุวิชาวิชิตขลัง

ขี่คีริเมขละประทัง

คชะเหี้ยมกระเหิมหาญ


แสร้งเสกสราวุธะประดิษฐ์

กละคิดจะรอนราน

ขุนมารผจญพยุหะปาน

พระสมุททะนองมา


หวังเพื่อผจญวระมุนิน

ทะสุชิน(ะ)ราชา

พระปราบพหลพยุหะมา

ระเมลืองมลายสูญ


ด้วยเดชะองค์พระทศพล

สุวิมล(ะ)ไพบูลย์

ทานาทิธัมมะวิธิกูล

ชนะน้อมมโนตาม


ด้วยเดชะสัจจะวจนา

และนะมามิองค์สาม

ขอจงนิกรพละสยาม

ชยะสิทธิทุกวาร


ถึงแม้จะมีอริวิเศษ

พละเดช(ะ)เทียมมาร

ขอไทยผจญพิชิตผลาญ

อริแม้นมุนินทรฯ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

บทสวด นะโมฯ และ ความหมาย


--------------------
"นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" 3จบ

"นะโม" พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นใหญ่กว่า มนุษย์ เทพยดา พราหมณ์ มาร ยักษ์ และสัตว์ทั้งปวง

"ตัสสะ" ขอบูชา ขอนอบน้อม ขอนมัสการ

"ภะคะวะโต" พระผู้มีพระภาค
ทรงเป็นผู้จำแนกธรรมอันยิ่ง อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

"อะระหะโต" แปลเป็นใจความว่า อรหันต์ เป็นผู้ไกลจากกิเลส
ไกลจากเครื่องข้อง ทั้งปวง
"สัมมาสัมพุทธัสสะ" ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยพระองค์เอง ทรงรู้ดี รู้จริง รู้ยิ่ง กว่าผู้รู้อื่นใด


แปลโดยรวมว่า

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น
----------------------

ข่าวไทยรัฐออนไลน์::