วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

บทสวดมนต์ บูชาพระรัตนตรัย คำแปลและทำนองสรภัญญะ


บูชาพระรัตนตรัย

คำบูชาพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ. (กราบ) สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ. (กราบ) สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ)

พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ) พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว , ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระธรรม (กราบ) พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

บทสวดนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ )
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ (กราบ)



บทสวดพุทธานุสสติ

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุขโต โลกะวิทู, อนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ,สัตถา เทวะมะนุสสานัง, พุทโธ ภะคะวาติ (กราบ)

บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ ทำนองสรภัญญะ
         ราคี บ พันพัว                  สุวคนธ กำจร
           องค์ใดประกอบด้วย            พระกรุณาดังสาคร
         โปรดหมู่ประชากร               มละโอฆกันดาร
           ชี้ทางบรรเทาทุกข์             และชี้สุขเกษมสานต์
         ชี้ทางพระนฤพาน                อันพ้นโศกวิโยคภัย
           พร้อมเบญจพิธจัก-             ษุจรัสวิมลใส
         เห็นเหตุที่ใกล้ไกล               ก็เจนจบประจักษ์จริง
           กำจัดน้ำใจหยาบ              สันดานบาปแห่งชายหญิง 
         สัตว์โลกได้พึ่งพิง                มละบาปบำเพ็ญบุญ
           ข้าขอประณตน้อม              ศิรเกล้าบังคมคุณ                  
         สัมพุทธการุญ-                  ญภาพนั้นนิรันดร (กราบ)

บทสวดธัมมานุสสติ

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ (กราบ)

บทสวดสรรเสริญพระธรรมคุณ ทำนองสรภัญญะ

          ธรรมะคือคุณากร         ส่วนชอบสาธร 
         ดุจดวงประทีปชัชวาล 
            แห่งองค์พระศาสดาจารย์   ส่องสัตว์สันดาน 
         สว่างกระจ่างใจมล 
            ธรรมใดนับโดยมรรคผล    เป็นแปดพึงยล 
         และเก้านับทั้งนฤพาน 
            สมญาโลกอุดรพิสดาร      อันลึกโอฬาร
         พิสุทธิ์พิเศษสุกใส 
            อีกธรรมต้นทางครรไล     นามขนานขานไข
         ปฏิบัติปริยัติเป็นสอง 
            คือทางดำเนินดุจครอง     ให้ล่วงลุปอง
         ยังโลกอุดรโดยตรง 
            ข้าขอโอนอ่อนอุตมงค์      นบธรรมจำนง
         ด้วยจิตและกายวาจาฯ (กราบ)
 
บทสวดสังฆานุสสติ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง, จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย, อัญชะลีกะระณีโย, อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (กราบ)

บทสวดสรรเสริญพระสังฆคุณ ทำนองสรภัญญะ

         ด้วยกายและวาจาใจ  
            เป็นเนื้อนาบุญอันไพ-      ศาลแด่โลกัย
         และเกิดพิบูลย์พูนผล  
            สมญาเอารสทศพล        มีคุณอนนต์
         อเนกจะนับเหลือตรา  
            ข้าขอนพหมู่พระศรา-      พกทรงคุณา-
         นุคุณประดุจรำพัน  
            ด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์      พระไตรรัตน์อัน
         อุดมดิเรกนิรัติศัย  
            จงช่วยขจัดโพยภัย        อันตรายใดใด
         จงดับและกลับเสื่อมสูญ (กราบ)
 บทสวดถวายพรพระ

บทที่ ๑
พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
คะรีเมขะลังอุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

บทที่ ๒
มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

บทที่ ๓
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิจ

บทที่ ๔
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

บทที่ ๕
กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ อุทินะโพธ์

บทที่ ๖
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

 บทที่ ๗
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

บทที่ ๘
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

บทสวดถวายพรพระ ทำนองสรภัญญะ

เป็นบทสวดที่แปลมาจากคาถา พาหุง ในภาษาบาลี ซึ่งมีอยู่แปดบท กล่าวถึงชัยชนะแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อ'มาร' หรือเหตุการณ์ต่างๆ ในการสวดสรภัญญะเป็นหมู่ นิยมสวดบทสวดที่หนึ่ง (ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท) ซึ่งเป็นคำแปลโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยดัดแปลงบทลงท้าย ชะยะมัง คะละลานิ มาเป็น ชะยะสิจธินิจจัง

บทที่สอง ถึง แปด นั้น ท่านอาจารย์ มะเนาะ ยูเด็น แห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นผู้แต่ง ซึ่งได้แต่งไว้ในคำประพันธ์ชื่อ พาหุงคำฉันท์


1.         ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท-      ธวิสุทธศาสดา
    ตรัสรู้อนุตรสมา-             ธิ ณ โพธิบัลลังก์
    ขุนมารสหัสพหุพา-         หุวิชาวิชิตขลัง
    ขี่คีริเมขละประทัง         คชะเหี้ยมกระเหิมหาญ
    แสร้งเสกสราวุธประดิษฐ์     กลคิดจะรอนราน
    รุมพลพหลพยุหะปาน     พระสมุทรนองมา
    หวังเพื่อผจญวรมุนิน-     ทสุชินราชา
    พระปราบพหลพยุหมา-     รเมลืองมลายสูญ
    ด้วยเดชะองค์พระทศพล     สุวิมลไพบูลย์
    ทานาทิธรรมวิธิกูล         ชนน้อมมโนตาม
    ด้วยเดชะสัจวจนา         และนมามิองค์สาม
    ขอจงนิกรพลสยาม         ชยสิทธิทุกวาร
    ถึงแม้จะมีอริวิเศษ         พลเดชเทียมมาร
    ขอไทยผจญพิชิตผลาญ     อริแม้นมุนินทร

2.      ถ้วนรัตติอาฬวกยักษ์     มุหะกักขฬากร
    โฆราปวาทพระชินวร     หฤหรรษ์อหังการ
    ยิ่งคราพระองค์ปรมพุทธ     อภิยุทธ์ผจญมาร
    สัมพุทธโปรดประณุทพาล     อริจิตอมิตรคลาย
    ทรงไขพระขันติวรธรรม     วิธิคัมภิโรบาย
    จิตจัณฑยักษ์มุหะมลาย     กุธะฟุนละมุนลง
    ด้วยเดชชเยศอภิยุท-     ธพิสุทธิ์ภิเษกสรง
    สรวมพรบวรอนุตรมง-     คลฤทธิ์ประสิทธิ์พลัน

3.      นาฬาคิรีพลพิลึก         คชะคึกคะนองมัน
    คืออัคนีประลยวัน         วิยจักรารอน
    เริงรุทรประดุจอสนิบาต     นฤนาททิฆัมพร
    โถมทวนพิถียบทจร     พระสุคตเสด็จคลา
    ทรงโสรจวรัมพุทกสิญ-     จนะรินพระเมตตา
    รื่นรส ณ คชหทยา         มทะอุณห์ละมุนลง
    ด้วยเดชพระเมตติยมฤต     อภิสิตภิเษกสรง
    สรวมพรบวรอนุตรมง-     คลวัฒน์จิรัฐกาล

4.      โจรใจฉกาจทระนง     กิระองคุลีมาล
    ชูขรรค์ถลันถลทะยาน     ระยะโยชนาตรี
    อุกอำมหิตหทยะมาด     จะพิฆาตพระชินสีห์
    หากพุทธโกศลวิธี         นิยยานการนำ
    ด้วยอิทธิสังขตมโน         วรโพธิญาณธรรม
    พาพ้นอนันตริยกรรม     ภยะร้ายสลายลง
    ด้วยเดชชเยศมนมยิทธิ์     อภิสิตภิเษกสรง
    สรวมพรบวรอนุตรมง-     คลฤทธิ์ประสิทธิ์ผล

5.      ปางจิญจยาปทุฐจิต    กละคิดพิรากล
    ก้อนกาฐะคาดอุทระตน     วิยคัพภินียา
    ในกลางนิกรชนะประกาศ     อปวาทพระสัตถา
    มวลสัตบุรุษจะสถิรา     วิจิกิจฉ์ก็คิดแคลง
    สัมพุทธดุษณิยสันต์     วิยะจันทร์จรัสแสง
    สันตาธิวาสนแสดง         ทุรุบายสลายลง ด้
    วยเดชะสันตชยฤทธิ์     อภิสิตภิเษกสรง
    สรวมพรบวรอนุตรมง-     คลฤทธิ์พิสิฐา

6.      เดียรัตถิย์สัจจกนิครนถ์     อธิอนธอันธา
    เหิมจิตเพราะทิฐิอติมา-     นะอนุตรวาที
    เสียสัตย์จะทัดพระวรวากย์ ปฏิพากย์พระชินสีห์
    เพียงเสาวณิตพระสวนีย์     ก็วิรัติวิวาทา
    ปัญญาปทีปชวลิต         พระพินิตนิคัณฐา
    ฤๅรังสิขัชชุปนกา         จะประจัญประภากร
    ด้วยเดชชเยศพระนรสีห์     รศมีประภัสสร
    สรวมสรรพพิสุทธิ์อนุตรพร     ชยฤทธิ์ประสิทธิ์ผล

7.      นันโทปนันทภุชคิน-     ทรหินชาติมนท์
    กำแหงแสดงสทิสพล     เพราะพิโรธนาวรณ์
    มืดมน ณ บนอนิลบถ     ธุมะจดทิฆัมพร
    จึงองค์พระผู้อนธิวร         วรพุทธฎีกา
    พุทโธรสาอธิกฤทธิ์         ทมะทิสนาคา
    ฤทธูปเทสะทมนา-         คนุฤทธิ์พิชิตลง
    ด้วยเดชชเยศวรฤทธิ์     อภิสิตภิเษกสรง
    สรวมพรบวรอนุตรมง-     คลพาสิตารมณ์

8.      พรหมมิจฉทิฐิอติมา-     นะพกาภิไธยพรหม
    หลงความวิสุทธิ์ชุตินิยม     และมหิทธินิจจา
    มิจฉาเสมือนอสิรพิษ     ทฐวิส ณ หัตถา
    สมเด็จบรมวรนา-         ยกพาธพยาบาร
    ทรงมอบมโหสถวิเศษ     วรเวชอาธาร
    คือองค์อนุตรติญาณ     ปริวัฏตรีวง
    ด้วยเดชพระญาณวรวิชช์     อภิสิตภิเษกสรง
    สรวมพรบวรอนุตรมง-     คลฤทธิ์วิศิษฐา

       ถ้วนอัฐมังคลชยุตม์           วรพุทธคาถา
       ผู้ปรีชญาณละอลสา          บริกรรมประจำกาล
       จักป้องอุปัททรพเหตุ          ภยเภทสลายลาญ
       จักนีรทุกข์สุขพิศาล            ลุวิมุตติวิสุทธิ์แล ฯ

ที่มา พาหุงคำฉันท์ ของท่านอาจารย์ มะเนาะ ยูเด็น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

บทสวด นะโมฯ และ ความหมาย


--------------------
"นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" 3จบ

"นะโม" พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นใหญ่กว่า มนุษย์ เทพยดา พราหมณ์ มาร ยักษ์ และสัตว์ทั้งปวง

"ตัสสะ" ขอบูชา ขอนอบน้อม ขอนมัสการ

"ภะคะวะโต" พระผู้มีพระภาค
ทรงเป็นผู้จำแนกธรรมอันยิ่ง อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

"อะระหะโต" แปลเป็นใจความว่า อรหันต์ เป็นผู้ไกลจากกิเลส
ไกลจากเครื่องข้อง ทั้งปวง
"สัมมาสัมพุทธัสสะ" ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยพระองค์เอง ทรงรู้ดี รู้จริง รู้ยิ่ง กว่าผู้รู้อื่นใด


แปลโดยรวมว่า

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น
----------------------

ข่าวไทยรัฐออนไลน์::